พระสมเด็จหลังยันต์ฟ้าฟีก หัวใจไจยะเบงชร  

Posted by Honeybee

 พระสมเด็จหลังยันต์ฟ้าฟีก หัวใจไจยะเบงชรอันโด่งดัง
ยันต์ฟ้าฟีก หรือยันต์หัวใจแห่งไชยเบงชร(ไจยะเบงจร) หรือ ชินบัญชร พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งยวด ใช้ป้องกันและเสริมความเป็นมงคลได้ทุกด้าน ยันต์ฟ้าฟีกหรือคาถาหัวใจไชยเบงชรที่ว่า "ระตะนังปุระโตอาสิ" ในวัฒนธรรมความเชื่อล้านนาเป็นคาถาที่ใช้อย่างแพร่หลาย แม้แต่ ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย ต๋นบุญแห่งล้านนายังใช้เป็นยันต์ประจำตัวองค์ท่าน มีคุณด้านกันและปัดเป่าสรรพอันตรายเภทภัยต่างๆให้ออกไปจากตัวตน บ้านเรือน เมืองนคร เวลายามจะเกิดลมหลวงหรือพายุชาวบ้านชาวเมืองผู้มีวิชาจะใช้คาถานี้ในการไล่ลมฝนฟ้าให้ห่างไปจากบ้านของตน ยันต์นี้ยังทำเป็นแผ่นติดเสาเรือนเพื่อกันไฟไหม้และกันฟ้าผ่าได้ฉมังยิ่งนัก



 ราคา: 650บาท จัดส่งฟรีแบบไปรษณีย์ลงทะเบียน
ติดต่อ: Line ID: 8billion หรือ เมมเบอร์ 0869269793 เพิ่มเพื่อนในไลน์แล้วติดต่อรายละเอียดกันเช่น การโอนเงิน การจัดส่ง เป็นต้นครับ หากท่านโทรมาอาจจะรับสายไม่ได้เนื่องจากทำงานประจำครับ
*ถ้าหากท่านประสงค์อยากได้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผมเพื่อความสบายใจก็สามารถบอกได้นะครับ

Amulet Name: Luangphor Inn
Price: 650 Thai Baht (Ex-Factory)

For Thai people at oversea or foreigners who interested in this amulet, please kindly contact me at sak_39@hotmail.com for further discussion.

การรับประกัน
รับคืนเงินภายใน 30 วัน หากผู้บูชาตรวจทราบว่าเป็นพระเก๊ โดยมีหนังสือรับรองจากผู้เชี่ยวชาญที่วงการพระเครื่องให้การยอมรับ
อนึ่ง ในการส่งคืน พระจะต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่ชำรุดหักบิ่น เสียสภาพ


ประวัติ
“พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า

“ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

“ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

“จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี

“ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

“หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

“ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ฯลฯ

ฟ้าฟีก ยันต์หัวใจแห่งไชยเบงชร(ไจยะเบงจร) หรือ ชินบัญชร พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งยวด ใช้ป้องกันและเสริมความเป็นมงคลได้ทุกด้าน ยันต์ฟ้าฟีกหรือคาถาหัวใจไชยเบงชรที่ว่า "ระตะนังปุระโตอาสิ" ในวัฒนธรรมความเชื่อล้านนาเป็นคาถาที่ใช้อย่างแพร่หลาย แม้แต่ ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโยตนบุญแห่งล้านนายังใช้เป็นยันต์ประจำตัวองค์ท่าน มีคุณด้านกันและปัดเป่าสรรพอันตรายเภทภัยต่างๆให้ออกไปจากตัวตน บ้านเรือน เมืองนคร เวลายามจะเกิดลมหลวงหรือพายุชาวบ้านชาวเมืองผู้มีวิชาจะใช้คาถานี้ในการไล่ลมฝนฟ้าให้ห่างไปจากบ้านของตน ยันต์นี้ยังทำเป็นแผ่นติดเสาเรือนเพื่อกันไฟไหม้และกันฟ้าผ่าได้ฉมังยิ่งนัก





อีกนามหนึ่งของฟ้าฟีกคือ คาถาตาลหิ้น โดยมีเรื่องเล่าว่า เจ้าหนานทิพย์ช้าง หรือ พญาสุลวฤาไชยสงคราม ต้นเค้าสายสกุล เจ้าเจ็ดตน อันเป็นเจ้าบ้านผ่านเมืองครองหัวเมืองล้านนาเป็นเจ้าหลวงเจ้าชีวิตสืบมา ท่านได้คาถานี้มาจากครูบาอาจารย์เป็นคาถา 8 คำคือ ระตะนัง ปุระโต อาสิ เมื่อเจ้าหนานท่องจนมั่นใจแล้วท่านจึงคิดลองให้ทหารเอาปืนมาจ่ออยู่ใต้ต้นตาลให้มากที่สุด แล้วเจ้าหนานปีนไปอยู่บนตาลให้เหล่าทหารยิงจนยอดตาลด้วนเหี้ยนเตียนหมด แต่ท่านก็ไม่เป็นไร คาถานี้จึงชื่อว่าตาลหื้น มีพุทธคุณทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ปัดเป่าป้องกันเภทภัยอนันตรายต่างๆ ครูบาทางเหนือใช้อย่างแพร่หลายและขึ้นชื่อในประสบการณ์


ก็ในเมื่อยุคนี้เป็นกลียุคใกล้ถึงคราวเกิดเภทภัยใหญ่ขึ้น การมีพระกริ่งอันเป็นพระเครื่องชั้นสูงที่สร้างด้วยตำราไชยเบงชรหรือชินบัญชร บรรยุพระคาถายันต์ฟ้าฟีกหรือตาลหิ้นไว้ที่องค์พระ หล่อหลอมด้วยชนวนมวลสารชั้นสูงสุดขลัง ย่อมสามารถเป็นเครื่องป้องกันปกห่มบ่มเกล้ายามเกิดภัยได้ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธคุณ

This entry was posted on Tuesday, May 16, 2017 at 7:40 AM . You can follow any responses to this entry through the comments feed .

0 comments

Post a Comment