นั่งพานรุ่นแรก หลวงพ่อพุธ ฐานิโย  

Posted by MR.Amulets

 เหรียญนั่งพาน รุ่นแรก เนื้อทองแดง หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน ปี 2537 มีตอกโค้ดและหมายเลขกำกับ เหรียญนั่งพาน รุ่นนี้ออกแบบได้สวยมากเป็นฝีมือช่างแกะบล็อกคนเดียวกันกับเหรียญนั่งพาน หลวงปู่ทิมอันโด่งดัง เหรียญรุ่นนี้สร้างโดยวัดแห่งหนึ่งในชลบุรี เพื่อหารายได้มาสร้างถาวรวัตถุในวัด จำชื่อวัดไม่ได้แล้วครับ ทางวัดนี้ได้ขออนุญาตหลวงพ่อพุธ จัดสร้างเหรียญอย่างเป็นทางการ พร้อมกับจัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่มีพระเกจิอาจารย์ในสมัยนั้นมาร่วมปลุกเสกหลายสิบรูป เหรียญมีโค๊ตตัว พ เป็นภาษาธรรม อยู่ตรงสังฆาฏิ และยังมีไก่อยู่ตรงฐานพาน เป็นสัญลักษณ์ของความมีเสน่ห์ มงคล เก่งทำงานหากิน และเป็นปีเกิดของท่านด้วย



ราคา: 340 บาท จัดส่งฟรีแบบไปรษณีย์ลงทะเบียน
ติดต่อ: Line ID: 8billion หรือ เมมเบอร์ 0869269793 เพิ่มเพื่อนในไลน์แล้วติดต่อรายละเอียดกันเช่น การโอนเงิน การจัดส่ง เป็นต้นครับ หากท่านโทรมาอาจจะรับสายไม่ได้เนื่องจากทำงานประจำครับ
*ถ้าหากท่านประสงค์อยากได้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผมเพื่อความสบายใจก็สามารถบอกได้นะครับ

Amulet Name: Luangphor  Put
Price: 340 Thai Baht (Ex-Factory)

For Thai people at oversea or foreigners who interested in this amulet, please kindly contact me at sak_39@hotmail.com for further discussion.

 ประวัติ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) เกิดที่หมู่บ้านชนบท ตำบลหนองหญ้าเซ้ง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เมื่อเดือน 3 ปีระกา ตรงกับวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 เมื่อท่านอายุได้ 4 ปี บิดา-มารดาได้ถึงแก่กรรม ญาติที่อยู่ ณ หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จึงมารับท่านไป อุปการะ ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2479 อายุได้ 15 ปี ท่านจึงได้ขอร้องให้ญาติซึ่งเป็น ผู้ปกครองของท่าน พาไปบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอินทร์สุวรรณ บ้าน โคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมีท่าน พระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์ เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์เป็นพระบรรพชาจารย์ และสามเณรพุธได้ อาศัยอยู่จำพรรษากับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์นั่นเอง ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ปี พ.ศ. 2480 หลังจากออกพรรษา เป็นเหตุบังเอิญให้ในขณะนั้นที่ท่าน เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง) ได้เดินธุดงค์มายังจังหวัดสกลนคร ในฐานะเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค 4แทนท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่าน เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร ได้เกิดความเมตตาต่อสามเณรพุธเป็นอย่างมาก สามเณรพุธจึงมีโอกาสได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธารธุดงค์ออก จากอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้น ทางคมนาคมยังไม่สะดวก ต้องเดินด้วยเท้าไปตามทางเกวียน ผ่านป่าเขาต่างๆ ท่านเล่าว่าต้องใช้เวลาถึง 31วัน จึงเดินเท้ามาถึง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเดินทางไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้าพักที่วัดบูรพา และฝากตัว เป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์พร (พี่ชายของพระอาจารย์บุญ ชินะวังโส) ท่านพระอาจารย์พรเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ซึ่งในขณะนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ได้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบูรพาด้วย สามเณรพุธจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ และเริ่มรับ การอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นครั้งแรก แต่เดิมทีในสมัยแรก ที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ท่านได้บรรพชาในสังกัดมหานิกายคณะ ที่วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี แห่งนี้ นอกจากจะได้รับการ อบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังได้ศึกษาทางด้านพระ ปริยัติธรรมอีกด้วย และสามารถสอบได้นักธรรมเอก เมื่อมีอายุเพียง 18 ปี ต่อมา ปี พ.ศ. 2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้พาสามเณรพุธ เดินธุดงค์ จากจังหวัดอุบลราชธานีเข้ามายังกรุงเทพฯ และพาไปฝากตัวกับท่านเจ้าคุณ ปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ให้ช่วยอบรมสั่งสอน สามเณรพุธจึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และสามารถสอบได้เปรียญ ๔ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรนั่นเอง สามเณรพุธได้จำพรรษาเรื่อยมา ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ จนอายุได้ครบบวช ในปี พ.ศ. 2485 ท่านจึงได้รับการอุปสมบท โดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) พระอาจารย์ของท่านเป็น พระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "ฐานิโย" หลวงพ่อพุธ เคยได้รับแการแนะนำในเรื่องการปฏิบัติกรรมฐานจากหลวงพ่อฝั้น สมัยที่อยู่วัดบูรพา ต่อมา ในปี พ.ศ. 2496 ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2510 ในปี พ.ศ. 2500 นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูพุทธิสารสุนทร และ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในนามเดิม และในปีถัดมา พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในนามเดิม ต่อมา ในปี พ.ศ. 2511 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ท่านจึงมาจำพรรษาที่วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ท่านดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะจังหวัดอยู่เป็นเวลา 2 ปี ในปี พ.ศ. 2512 ได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์อีกครั้ง เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระชินวงศาจารย์
ในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการขึ้นที่ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทางเจ้าคณะภาค ได้ขอให้ท่านมาเป็น กรรมการบริหารโรงเรียนพระสังฆาธิการในส่วนภูมิภาค ท่านจึงย้ายมาเป็น เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านได้ทำประโยชน์ ทั้งต่อพระบวรพุทธศาสนา และ ต่อสังคม เป็นอเนกอนันต์ โดยสม่ำเสมอเรื่อยมา หลวงพ่อพุธเป็นพระนักปฏิบัติกรรมฐาน และเชี่ยวชาญในเรื่องการเทศน์สอนแก่บุคคลทั่วไป ในปี พ.ศ. 2535 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสังวรญาณ ท่านนับว่าเป็นเป็นพระที่บูชาได้อย่างสนิทใจ ในเรื่องวัตถุมงคล ในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ได้ออกคำสั่งเด็ดขาดว่าห้ามจำหน่ายวัตถุมงคลใดในวัดป่าสาลวัน ถ้าแจกฟรีทำได้ ซึ่งหลวงพ่อเพิ่ม เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันก็ได้ยึดถือเป็นธรรมเนียมมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อพุธ มรณภาพเมื่ออายุได้ 78 ปี 15 พ.ค. 2542

This entry was posted on Friday, May 12, 2017 at 8:10 AM . You can follow any responses to this entry through the comments feed .

0 comments

Post a Comment