พระฉลอง25พุทธศตวรรษ เนื้อชิน บล็อคธรรมดาไม่มีเข็ม ไม่มีรองเท้าบู๊ท แต่สภาพผิวปรอทวิ้งๆสวยดี
เนื้อชินมีส่วนผสมของโลหะต่างๆอันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท
,เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท ,เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท ,ปรอท หนัก
5 บาท ,สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท ,เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท,
ตลอดจนแผ่นทองแดง,ตะกั่ว,เงินที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั้งราชอาณาจักรได้ลงเลขยันต์คาถา
ส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย จำนวนจัดสร้าง 2,421,250 องค์
ด้านหน้าเหรียญเป็นรุป พระศรีทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทัศน์ ด้านหลัง ประกอบด้วยยันต์มะอะอุ ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และ ยันต์ อิสวาสุ คือ หัวใจพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
รูปนี้พระศกจุดสวยๆ
พระเครื่องราคาสูงหลัก “แสน” หรือหลัก “ล้าน” ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะ “เข้มขลังตามมูลค่า” ขณะที่ราคาพระเครื่องหลัก “ร้อย” หรือหลัก “พัน” อาจมีพุทธานุภาพสูงส่งก็ได้เพราะไม่มีอะไรเป็นเครื่องวัดได้ ซึ่งผิดกับความร้อน-หนาวที่วัดได้ด้วย “เทอร์โมมิเตอร์” แต่สิ่งเดียวที่พอจะวัดได้ก็คือ “ประสบการณ์” เพราะเป็น “ปรากฏการณ์” ให้พบเห็นทั้งในอดีตและปัจจุบันอยู่เสมอ “เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน” ฉบับนี้จึงขอนำท่านผู้ อ่าน “อ่านความจริง...อ่านเดลินิวส์” ย้อนกลับไปพบกับข่าวหนึ่งบนหน้าหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์” ที่ได้บันทึกเหตุการณ์เป็นข่าวที่สุดตื่นเต้นเป็นการพิสูจน์ถึงอภินิหารของ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่ปัจจุบันยังมีให้บูชาในราคาไม่สูงเกินไปนัก
โดยหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์ ฉบับที่ ๙,๔๗๐ ประจำวันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘” ได้เสนอข่าวถึงเรื่องราวปาฏิหาริย์ของ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่มีรายงานข่าวจาก จังหวัดพัทลุง ว่าเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ เวลา ๐๔.๓๐ น. นายสืบศักดิ์ แกล้วทนง อายุ ๒๓ ปี บ้านอยู่หมู่ที่ ๒ ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์กลับจากดูโขนสดและภาพยนตร์ที่ วัดป่าพยอม เพื่อกลับบ้าน ขณะขับขี่ไปถึง ตลาดป่าพยอม เกิดไปเฉี่ยวเอาราษฎรหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “ชุดล่าสังหาร” ผู้หนึ่งที่ทาง “ทหาร ผส.๕ ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่” มาจัดตั้งหน่วยขึ้นที่ ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน
เพื่อทำหน้าที่ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งกำลังเดินกลับ เข้าค่าย จำนวน ๔ คน ราษฎรหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “ชุดล่าสังหาร” ผู้ที่ถูก “นายสืบศักดิ์” ขับรถเฉี่ยวจึงตะโกนบอกให้ “นายสืบศักดิ์” หยุดรถแต่ “นายสืบศักดิ์” เป็น “คนหูหนวก” จึงไม่ได้ยินเลยไม่หยุดรถ “หน่วยล่าสังหาร” ผู้นั้นจึงรัว “ปืนเอ็ม ๑๖” เข้าใส่ “นายสืบศักดิ์” ที่ยังขับรถทั้งหมด ๓๐ นัด กระสุนปืนพุ่งเข้าหา “นายสืบศักดิ์” เต็มแผ่นหลังจนตกลงจากรถจักรยานยนต์ หน่วยล่าสังหารทั้ง ๔ นายจึงกรูเข้าไปดูกลับเห็น “นายสืบศักดิ์” ปราศจากบาดแผลเนื่องจาก “กระสุนปืนเอ็ม ๑๖” ที่ยิงใส่นายสืบศักดิ์ไม่ระคายผิวเลย “หน่วยล่าสังหาร” ทั้ง ๔ นายจึงช่วยกันหักคอ “นายสืบศักดิ์” จนตายคามือแล้วพากันหลบหนีไป
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการชันสูตรศพ จึงพบว่าแผ่นหลังของ “นายสืบศักดิ์” ถูกกระสุนปืนเอ็ม ๑๖ หลายนัดแต่กระสุนไม่ทะลุ มีเพียง “รอยไหม้เกรียม” ที่เกิดจากพิษกระสุนปรากฏเป็นจุด ๆ เท่านั้น ส่วนเหตุที่เสียชีวิตก็เพราะกระดูกบริเวณแผ่นหลังและที่ลำคอของ “นายสืบศักดิ์” หักหลายชิ้นเจ้าหน้าที่ค้นในตัวศพจึงพบว่าหนุ่มใบ้ผู้เสียชีวิตมีเพียง “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ๑ องค์” เท่านั้นซึ่งเป็นพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นเมื่อคราวมีงานฉลอง “๒๕ พุทธศตวรรษ” ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ สำหรับเป็นที่ระลึกและแจกจ่ายสมนาคุณให้แก่ประชาชน ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้าง “พุทธมณฑล” โดย “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนั้นมีรายการและรายละเอียดดังนี้
๑. เนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน เป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มขนาดความกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. วัสดุที่สร้างมีส่วนผสมต่าง ๆ ดังนี้ “พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ, เนื้อนวโลหะ” และ “แผ่นทองแดง, แผ่นตะกั่ว, แผ่นเงิน” ที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรทำการลงอักขระเลขยันต์ และคาถาต่าง ๆ แล้วนำมาผสมหล่อหลอมเข้าด้วยกันโดยมีจำนวนสร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์
๒. เนื้อดิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มมีด้วยกัน ๒ พิมพ์คือ “พิมพ์เขื่อง” มีขนาดกว้าง ๑.๖ ซม. สูง ๔.๒ ซม. หนา ๖ มม. “พิมพ์ย่อม” มีขนาดกว้าง ๑.๔ ซม. สูง ๓.๙ ซม. หนา ๔ มม. วัสดุที่ใช้สร้างเป็น “เนื้อดิน” ทั้ง ๒ พิมพ์โดยนำดินที่ขุดจาก ทะเลสาบจังหวัดสงขลา ผสมกับ เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ตลอดทั้งว่านและใบไม้ต่าง ๆ พร้อม ดินจากหน้าพระอุโบสถ ที่มีความสำคัญจากจังหวัดต่าง ๆ อีกทั้งดินที่นำมาจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ใน ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังใช้ผงวิเศษจากพระอาจารย์ต่าง ๆ และพระเครื่องโบราณที่ชำรุดเช่น “พระสมเด็จฯ, พระขุนแผน, พระนางพญา, พระรอด” มาผสมเข้าด้วยกัน จำนวนที่สร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ เช่นกันกับเนื้อชินโดยพระเครื่องเนื้อดินเผามีด้วยกันหลายสี อาทิ สีดำ, สีเทา, สีขาวนวล, สีพิกุลแห้ง, สีหม้อใหม่, สีครีม, สีชมพู, สีน้ำตาลไหม้ ฯลฯ เป็นต้น
๓. เนื้อทองคำ พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรแบบนูน สร้างด้วยเครื่องปั๊มมีขนาดกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. ด้านหน้าและด้านหลังพุทธลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกันกับพระ “เนื้อชิน” และจำนวนสร้างเท่ากับ พ.ศ. ที่สร้างคือ ๒,๕๐๐ องค์ โดยน้ำหนักทองคำองค์ละ ๖ สลึง ทางด้านพิธีกรรมการ ปลุกเสกครั้งแรกทำการปลุกเสกสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ ก่อนที่จะได้นำมาสร้างเป็นพระโดยประกอบพิธีปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนด้วยกัน โดยในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานพิธี สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) สังฆนายก วัดเบญจมบพิตรฯ จุดเทียนชัยและมีพระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสก บรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ จนตลอดคืน จากนั้นวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานพิธี และพระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูปนั่งปรกปลุกเสกบรรจุ พุทธาคมลงในสรรพวัตถุ และมวลสารต่าง ๆ ตลอดคืน
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหา วิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระศรีศากยมุนีเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำ” จำนวน ๔ องค์ และทรงกดพิมพ์พระเครื่องฯ “๒๕ พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน ๓๐ องค์ เป็นปฐมฤกษ์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าสู่พระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ ส่วนพระเกจิอาจารย์ในจำนวน ๑๐๘ รูป เข้าสู่มณฑลพิธีนั่งปรกปลุกบรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่อไปจนตลอด คืน
พิธีปลุกเสกครั้งที่สองได้ทำพิธี ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ หลังจากพระเครื่องทั้งหมดได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ ๒, ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ประกอบด้วยเกจิอาจารย์ชั้นนำในยุคนั้นอีก ๑๐๘ องค์ เช่น “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ หลวงพ่อนาค วัดระฆัง หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม” เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” จึงจัดเป็นพระเครื่องที่ ดีเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังพอแสวงหาได้ในราคาไม่สูงมากนัก เป็นสิริมงคลล้ำค่าที่จะอาราธนาขึ้นแขวนคอได้อย่างสบายใจ
ราคา: 850บาท จัดส่งฟรีแบบไปรษณีย์ลงทะเบียน
ติดต่อ: Line ID: 8billion หรือ เมมเบอร์ 0869269793 เพิ่มเพื่อนในไลน์แล้วติดต่อรายละเอียดกันเช่น การโอนเงิน การจัดส่ง เป็นต้นครับ หากท่านโทรมาอาจจะรับสายไม่ได้เนื่องจากทำงานประจำครับ
*ถ้าหากท่านประสงค์อยากได้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผมเพื่อความสบายใจก็สามารถบอกได้นะครับ
Amulet Name: 25 Century of Buddhist era
Price: 850Thai Baht (Ex-Factory)
For Thai people at oversea or foreigners who interested in this amulet, please kindly contact me at sak_39@hotmail.com for further discussion.
This entry was posted
on Friday, May 5, 2017
at 7:55 AM
. You can follow any responses to this entry through the
comments feed
.