ปิดตาพิมพ์กลาง 1 ในเบญจภาคี เนื้อเมฆพัด จารด้วยยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ด้านหลัง
ปิดตา ญาคูคำดี สปป ลาว คลิกlink ด้านล่าง นี้
http://prakruangthai.blogspot.com/2017/05/blog-post_5.html?m=
1
พระคาถา ยันทุน พระปริต แก้ฝันร้าย
นะโม 3 จบ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโทปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโทปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโทปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
พระคาถายันทุนบทนี้ ใช้สำหรับสวดป้องกันอันตรายต่างๆ แม้ว่าเกิดนิมิตฝันไม่ดี เกิดอาเภทสังหรณ์ใจไปในทางไม่ดี ให้สวดพระคาถาบทนี้จะกลับให้เกิดความดีขึ้น แม้จะมีเคราะห์ร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้นให้ทำน้ำมนต์อาบเสียด้วยพระคาถานี้ บำบัดอันตรายให้หายสิ้นไปได้ หมั่นเจริญภาวนาไว้เกิดสิริมงคลลาภยศดีนักแลฯ คนเกิดวันจันทร์ต้องบูชาคาถานี้ครั้งละ 15 รอบ
หลวงพ่อพรหม ถาวโร ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พศ. 2427 ณ.ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุตรนายหมี-นางล้อมโกสะลัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ 1นางลอย 2นายปลิว 3หลวงพ่อพรหม 4นางฉาบหลวงพ่อพรหมในขณะเยาว์วัยได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญและเริ่ม ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อพรหมเริ่มศึกษาวิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ชื่ออาจารย์พ่วง ต่อมาเมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ศึกษาอสุภกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนา จากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบวัดอยู่ประมาณ 4 ปี ในพรรษาที่ 5 อาจารย์พ่วง ได้พาไปฝากอาจารย์ปู่วอน ซึ่งเป็นฆราวาส และได้ศึกษาวิชาแขนงต่างๆเป็นเวลา 5 ปีเต็ม จนกระทั่งอาจารย์ปู่วอนถึงแก่กรรม ซึ่งในภายหลังหลวงพ่อพรหมได้นำกระดูกมาเก็บไว้ที่วัดช่องแค จากนั้นหลวงพ่อพรหม ก็ไม่ได้ไปศึกษากับอาจารย์ท่านใดโดยตรงมีแต่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากับอาจารย์รุ่นพี่และรุ่นเดียวกันในระหว่างธุดงค์ เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เป็นต้น หลวงพ่อพรหมจะเดินธุดงค์ทั้งเส้นทางใกล้และไกล โดยหลวงพ่อเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองร่างกุ้ง และได้มีโอกาสที่มนัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก หลวงพ่อได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อเห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม จึงเริ่มปลูกต้นไม้แห่งศรัทธาลง ณ. ช่องเขาแห่งนี้ ขณะที่หลวงพ่อจำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแคมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดรกร้าง ต่อมาชาวบ้านในแถวนั้นซึ่งมีความนับถือเลื่อมใสหลวงพ่อได้นิมนต์ให้หลวงพ่อลงมาจำพรรษาข้างล่าง คือวัดช่องแคในปัจจุบัน หลวงพ่อพรหมจึงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มขึ้น หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัดจากวัดที่รกร้างไม่มีเสนาสนะใดๆ เมื่อปี 2460 มาเป็นวัดที่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัวและมรดกของหลวงพ่อเอง ต่อมาเมื่อทางวัดจะสร้างโบสถ์ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูง คณะกรรมการของวัดจึงขอ อนุญาติหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลขึ้น หลวงพ่อพรหม ชอบระฆัง การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงมีรูประฆังและกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงพ่อพรหม หลวงพ่อพรหมไม่เคยย้ายไปอยู่วัดใดเลยตลอดระยะเวลา 58 ปี โดยที่หลวงพ่อได้ลาออกจากเจ้าอาวาสเมื่อปี 2514 รวมเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค 54 ปี เพื่อให้พระปลัดแบงค์ ธมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อพรหม มรณภาพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ.โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา
หลังจากหลวงพ่อพรหม มรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลาการเปรียญ ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย มด ไร มอด และ แมลง ไม่ได้รบกวนทำลายชิ้นส่วนใดๆในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาแล้วถึง 30กว่าปี
๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
๑.ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก มุนิสสะรา
๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเล
๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
๗.กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๘.ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ
๙.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
๑๐.ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะ ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
๑๒.ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพเต มะหาปุริสาสะภา
๑๕.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
วัดกลางคูเวียง เป็นวัดที่มีระบบการจัดการที่ดีมากวัดหนึ่งจนได้รับรางวัลวัดพัฒนาดีเด่นเลยทีเดียวเมื่อเข้าไปบริเวณวัดแล้วจะพบว่ารางวัลที่ได้มานั้นสมราคาจริงๆ เพราะวัดสะอาดสะอ้าน ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย
วัดนี้สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อไตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดและพี่น้องประชาชนชาวลาวที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนั้น ตั้งแต่สมัยรั๖นโกสินทร์ตอนต้นที่ได้ชื่อว่าวัดศีรษะทองเนื่องจากตอนที่ขุดดินสร้างวัดนั้นได้ขุดพบเศียรพระพุทธรูป จึงมีการตั้งชื่อวัดว่า วัดหัวทอง ต่อมาจึงเรียกอย่างเป็นทางการว่าวัดศีรษะทองวัดนี้มีพระเครื่องเด่นก็คือพระราหู ที่ทำจากกะลามะพร้าวที่มีตาเดียว หรือที่นักเลงพระเรียกกันว่า กะลาตาเดียว ที่เป็นวิชาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่คราวก่อนสร้างวัดของชาวลาว จนมาถึงปัจจุบัน พระราหูอมจันทร์กะลาตาเดียวรุ่นแรกปัจจุบันหายากมากมีแต่ในหนังสือพระ แต่ผู้ที่สนใจก็สามารถชมได้ที่แผงพระของทางวัดซึ่งมีพระราหูอมจันทร์หลายรูปแบบ ทั้งแบบรูปปั้นลอยตัว แบบกะลามะพร้าว หรือเหรียญ ว่ากันว่า พระราหูนี้ใครบูชาแล้วจะ ช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ เมื่อยามดวงชะตาตกกะลาพระราหูก็จะช่วยแก้ให้ดีขึ้นเหมือนเดิม
ความเชื่อว่าการกราบไหว้ขอพรพระราหูนั้นเป็นการขอพรให้พ้นเคราะห์ต่าง ๆ และยังดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ ช่วยให้การงานเจริญก้าวหน้า และเชื่อว่าพระราหูยังเป็นเทพบูชาประจำตัวเพื่อเสริมบารมีของคนที่เกิดวันพุธกลางคืนอีกด้วย แม้การบูชาพระราหูจะสามารถทำได้ตลอดวลา แต่ส่วนใหญ่จะนิยมบูชากันในวันพุธตอนกลางคืน โดยบูชาด้วยธูปดำคนละ 8 ดอก พร้อมทั้งถวายเครื่องบูชาซึ่งเป็นสีดำทั้งหมด 8 อย่าง แทนความหมายต่างกัน ได้แก่ ไก่ดำ เหล้า กาแฟดำ เฉาก๊วย ถั่วดำ ข้าวเหนียวดำ ขนมเปียกปูน ไข่เยี่ยวม้า สามารถไหว้บูชาพระราหูได้ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)
นอกจากพระราหูกะลาตาเดียวที่ศักดิ์สิทธิ์แล้วที่วัดนี้ยังมีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยเสริมดวงชะตาแก่ผู้เข้าร่วมพิธีได้ด้วย ในระหว่างทำพิธีผู้ร่วมพิธีจะต้องผู้ในผ้าศักดิ์สิทธิ์ด้านหนึ่งสีขาว อีกด้านหนึ่งสีแดง ที่คลุมอยู่ และพระสงฆ์จะสวด เจริญคาถา เพื่อเสริมดวงชะตาและปัดเป่าสิ่งช่วยร้ายออกไป
หากท่านใหนอยากจะบูชาพระราหูทางวัดมีศาลาที่ประดิษฐานพระราหูองค์ใหญ่ไว้ และมีของบูชาที่เป็นของดำเตรียมไว้อำนวยความสะดวกในการบูชาด้วย
วัดดอนหวายนี้ บางคนเรียกว่าวัดละลายทรัพย์ ซึ่งความจริงทางวัดไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะไปทำให้ทรัพย์ของผู้มาเยี่ยมละลายหรือลดลงจากประเป๋าได้เลย แต่ที่เรียกว่าวัดละลายทรัพย์ก็เป็นเพราะว่า วัดนี้อยู่ติดกับตลาดสดดอนหวายอันโด่งดังของจังหวัดนครปฐมนั่นเอง ซึ่งตลาดเแห่งนี้มีทุกสิ่งให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ที่มีชื่อเสียงของนครปฐม ซึ่งแน่นอน ผลไม้นั้นก็คือ ส้มโอทองดีขนม เป็นต้นว่า ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง แม่ค้าก็นำมาขายและทำกันให้คนซื้อเห็นถึงวิธีการทำตรงนั้นเลย นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารที่ขึ้นชื่อของตลาดนี้อีกอย่างก็คือ เป็ดพะโล้ดอนหวายที่วางขายร้านเว้นร้าน บางร้านก็ตั้งเตาอบเป็ดกันหลังร้านให้ลูกค้าเห็นกันเลย
นครปฐมเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในประเทศไทยเราที่มีพระเครื่องดีดี และ พระเกจิอาจารย์ดังๆ มากมาย
เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปไหว้พระ 9 วัดที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นโครงการของ ขสมก หรือบริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพนั่นเอง
รถออกที่อู่บางเขนเวลา 8 นาฬิกา ใช้เวลาประมาณ 45 นาทีด้วยรถเมล์ปรับอากาศแบบ Uero 2 (ยูโรทู)ก็พาเราเข้าสู่จังหวัดนครปฐม
บรรยากาศการเดินทางเป็นไปด้วยความสนุกสนานและมิตรไมตรีของผู้ที่เดินทางไปด้วยกัน ถึงแม้จะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และที่สำคัญไม่มีบรรยากาศการเมืองแบ่งขั้วแบ่งสีเข้ามาเกี่ยวข้องเลย เพราะทุกคนที่ไปในขบวนรถเมล์คันนั้นมีจุดประสงค์เดียวกันคือไปเที่ยวและทำบุญ อายุโดยเฉลี่ยของผู้แสวงบุญครั้งนั้นน่าจะราวๆ 40 ปี มีทั้งคนหนุ่มสาว เด็ก ที่สำคัญคือผู้สูงอายุที่ลูกหลานพามาเที่ยว หรือบ้างก็มาเอง
sak_39@hotmail.com