พระร่วงหลังรางปืน พิมพ์เจดีย์จม ปี 2515 วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่  

Posted by Honeybee

ชื่อพระ: พระร่วงหลังรางปืน พิมพ์เจดีย์จม ปี 2515 วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่" 
ราคา: 700 บาท พร้อมกล่องเดิมๆจากวัด  (จัดส่งแบบลงทะเบียนฟรี)
วิธีการบูชา:  กรุณาติดต่อมาที่ Line ID: 8billion หรือ เม็มเบอร์โทร 086 9269793 แล้ว add Line มาเพื่อคุยกัน แล้วทางผู้ขายจะยืนยันตัวตน เพื่อความสบายใจของผู้ซื้อ 
การจะไขว่คว้าหาของล้ำค่าและค่านิยมสูงๆ นั้น บางครั้งก็ยากยิ่งนัก ของดีๆ มีน้อยมักถูกเก็บเข้ากรุเข้ารังใหญ่ๆ หมด ยิ่งถ้า เสียเงินเสียทองไปแล้วได้ของเก๊มาครอบครอง ยิ่งช้ำใจเข้าไปใหญ่ ... ลองเปิดใจดู "พระใหม่" พุทธคุณเทียบเทียม รู้ที่ไปที่มาแน่นอน อีกทั้งสนนราคาก็อยู่ในเกณฑ์ที่เช่าหาได้แบบกระเป๋าไม่แบน และ "ห้อยคอแบบไม่อายใคร" อย่างเช่น "พระร่วงหลังรางปืน ปี 2515 วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่" 

พระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเก่า ชะเลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย นับเป็นพระยอดขุนพลกรุเก่า ยอดนิยม ที่มีพุทธลักษณะอ่อนช้อยงดงาม แฝงด้วยความเข้มขลังและสง่างาม กับพุทธคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีเป็นเลิศปรากฏเป็นที่ร่ำลือ พร้อมเอกลักษณ์ประจำองค์พระที่มีด้านหลังเป็น "หลังรางปืน" ได้รับสมญาว่า "จักรพรรดิแห่งพระเนื้อชิน" ที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันอยากได้มาครอบครอง 

นอกจากนี้ ยังทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นพระพุทธศิลปะแบบเขมรยุคบายน มี อายุในราวปี ค.ศ.13 สมัยที่ขอม เรืองอำนาจและเข้าปกครองพื้นที่ บริเวณนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่ "ขอม" เป็นผู้สร้าง 

แต่ด้วยความที่พระมีจำนวนน้อยมากๆ ทำให้สนนราคาเช่าหาจัดได้ว่าสูงที่สุดสำหรับพระพิมพ์ประเภทเดียวกัน และยังหาพระแท้ได้ยากยิ่ง ด้วยผู้ที่มีไว้ครอบครองไม่ว่าจะเป็นองค์ที่สมบูรณ์หรือชำรุดก็ตามก็ต่างหวงแหนยิ่งนัก จึงเป็นธรรมเนียมที่มีผู้ฉวยโอกาสสร้าง ของเทียมขึ้นมาสร้างมูลค่า การพิจารณาพระแท้จึงเป็นสิ่งที่ผู้รักชอบที่จะสะสมพระต้องขวนขวายศึกษา เพื่อให้ได้ของแท้มาครอบครอง ซึ่งบางครั้งก็ตกม้าตายได้เช่นกัน

ด้วยความทรงคุณค่า เป็นที่ใฝ่หา แต่หายากยิ่งนี้ จึงมีหลายสำนักได้มีการจำลองรูปแบบ "พระร่วงหลังรางปืน" มาจัดสร้างขึ้นในยุคหลังหลายรุ่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ล้วนได้รับความนิยม ยิ่งถ้าจัดพิธีปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ มีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมร่วมอธิษฐานจิต และมีประสบการณ์เข้มขลังเป็นที่ปรากฏให้เห็นเป็น "รูปธรรม" แล้ว ยิ่งสร้างค่านิยมให้สูงขึ้น และหนึ่งในพระร่วงหลังรางปืนที่จัดว่า เป็น "ของดีน่าเก็บ" ก็คือ "พระร่วงหลังรางปืน ปี 2515 วัดพระธาตุดอยสุเทพ" 

พระร่วงหลังรางปืน ปี 2515 วัดพระธาตุดอยสุเทพ นี้ พิมพ์ด้านหน้าจะมีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับ "พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "พระร่วงหลังรางปืนย้อนยุค" ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ พระกรซ้ายทอดลงขนานกับลำพระองค์แบบหงายฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้า ภายในซุ้มเรือนแก้ว ครองเครื่องจีวรห่มคลุมพลิ้วบาง ขนานกับองค์พระตกลงมาเบื้องล่าง 

พระพักตร์ค่อนข้างเคร่งขรึม ปรากฏรายละเอียดชัดเจน สวมศิราภรณ์ อันได้แก่ กระบังหน้า และมงกุฎรูปกรวยที่เรียกว่า "หมวกชีโบ" นุ่งสบง คาดด้วยรัดประคดแบบศิลปะเขมรแบบ บายน ส่วนพิมพ์ด้านหลังมีการจัดสร้างเป็น 2 พิมพ์ คือ "พิมพ์หลังเจดีย์นูน" และ "พิมพ์หลังเจดีย์จม" บ้างก็เรียกว่า "พิมพ์พระธาตุลอย" กับ "พิมพ์พระธาตุจม"   




ประการสำคัญที่ต้องกล่าวถึง คือ พิธีพุทธาภิเษกที่จัดอย่าง ยิ่งใหญ่ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2515 โดย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธี ทั้งยังได้สุดยอดพระเกจิคณาจารย์แห่งยุค ทั้งภาคเหนือ, ภาคกลาง และ ภาคใต้ รวม 108 รูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงพ่อเกษม เขมโก จ.ลำปาง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่, ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่, ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย จ.ลำพูน, พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง ฯลฯ 

นอกจากนี้ อาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์สำนักเขาอ้อสายตรง ผู้เข้มขลัง มาเป็นเจ้าพิธีฝ่ายฆราวาส จึงนับเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด พิธีหนึ่งของไทยในยุคนั้นทีเดียว 

ดูจากพุทธศิลปะและพุทธลักษณะ รวมทั้งรายชื่อพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมพลังอธิษฐานแล้ว ถ้าไม่ติดว่า "พระเก่า-พระใหม่" ก็น่าจะการันตีได้ถึงความเข้มขลังทางพุทธคุณ ที่เรียกได้ว่า "ห้อยคอได้ไม่อายใคร" 


อ้างอิงจาก พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์  http://daily.khaosod.co.th/

This entry was posted on Sunday, November 13, 2016 at 2:07 AM . You can follow any responses to this entry through the comments feed .

0 comments

Post a Comment