พระนางพญาองค์ที่เห็นอยู่นี้ พิมพ์เข่าตรง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์
จำนวนพระ หนา – กลาง – บาง อย่างละ 84,000 องค์ เท่ากับจำนวนพระธรรม 84000 พระธรรมขันธ์
ด้านข้างทั้งสามด้าน มีรอยตอกตัดแยกองค์พระออกจากกันชัดเจน โดยไม่ใช้มีด เพื่อให้ไม่สามารถแพ้มนต์ดำของข้าศึกศัตรูได้
ข้อมูล
พระนางพญาเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคี
สำหรับตำนานแห่งพุทธคุณของพระชุดเบญจภาคีนั้น มีคติความเชื่อว่า
๑.พระสมเด็จวัดระฆัง จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องตลอดกาล หรือ "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" พุทธคุณครอบจักรวาล เน้นบุญฤทธิ์ หนุนดวงชะตา เมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยพิบัติ คงกระพัน โชคลาภ ใครมีบารมีได้ไว้จะรุ่งเรืองไม่มีวันตกต่ำ
๒.พระนางพญา พุทธคุณเป็นพระสร้างความเด่นด้านเมตตากรุณาและเป็นสวัสดิมงคล เน้นทางอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้า คงกระพันชาตรี มิหวั่นเกรงคมศัสตราวุธ แคล้วคลาด ชนะศัตรู มีบารมี ผู้คนเกรงใจ
๓.พระซุ้ม ก หรือกำแพงเม็ดขนุน พุทธคุณเน้นทางโภคทรัพย์ เป็นมหาอำนาจวาสนาบารมี เป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวง ไม่มีวันจน
๔.พระผงสุพรรณ พุทธคุณเน้นด้านเมตตาบารมี การเป็นผู้นำ น่าเกรงขาม คงกระพัน การมีโชค โภคทรัพย์ ความมีเสน่ห์ ขจัดทุกข์ ความสงบ หนักแน่น
๕.พระรอด พุทธคุณเน้นเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน อุดมด้วยโภคทรัพย์ ร่ำรวยทรัพย์ เด่นทางแคล้วคลาด คุ้มภัย
พระนางพญา หรือ พระพิมพ์นางพญา ซึ่งนิยมกันว่าเป็น ราชินีแห่งพระเครื่อง เป็นพระเครื่องที่พบอยู่ในพระเจดีย์ และบริเวณวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้างไว้ ในแผ่นจาลึกลานทองของพระครูอนุโยค วัดราชบูรณะ มีผู้คัดลอกกันไว้ว่า พระนางพญาสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา จากการพิจารณาเนื้อดินและพุทธศิลปะของพระนางพญาแล้ว มีความเก่าถึงช่วงต้น ๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เฉพาะพิมพ์เข่าโค้งช่างในสมัยอยุธยาได้สร้างขึ้นเลียนแบบศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งเห็นได้อย่างเด่นชัด นอกจากพิมพ์นี้พิมพ์เข่าตรงยังมีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะสมัยพระเจ้าอู่ทอง ๒ จากภูมิสถานของวัดนางพญาก็อยู่ในสกุลช่างเดียวกัน เมื่อพิจารณาถึงกษัตริย์ทุกพระองค์ที่เคยครองเมืองพิษณุโลกแล้วพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองพิษณุโลกนานที่สุด ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ มีความพรั่งพร้อมทั้งกำลังพลและกำลังทางเศรษฐกิจ พระนางพญาคงสร้างขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๐๐๗-๒๐๒๕ ในคราวเดียวกันกับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อสร้างพระปรางค์แบบต้นสมัยอยุธยาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกและได้บูรณะพระสถูปเจดีย์ใหญ่ ฐานคล้ายเจดีย์มอญ ที่วัดราชบูรณะ ซึ่งพระสถูปเจดีย์องค์นี้ยังเป็นสง่า อยู่ริมฝั่งลำน้ำน่านจนบัดนี้
พระนางพญา เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเบญจภาคี มีเนื้อสีอิฐแดงเหลือง เนื้อเขียว เนื้อดำ จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือ มวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระ เพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว
ข้อมูลจาก : เบญจภาคีดอทคอม
พิมพ์และตำหนิเอกลักษณ์
พระนางพญา มี ๗ พิมพ์ ด้วยกัน คือ
๑. พิมพ์เข่าโค้ง
๒. พิมพ์เข่าตรง
๓. พิมพ์เข่าตรง ( มือตกเข่า)
๔. พิมพ์อกนูนใหญ่
๕. พิมพ์สังฆาฏิ
๖. พิมพ์อกนูนเล็ก
๗. พิมพ์อกแฟบ ( พิมพ์เทวดา)
ตำหนิเอกลักษณ์
๑. พระเกศเหมือนปลีกล้วย
๒. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน
๓. หน้าผากด้านขวาขององค์พระจะยุบหรือบุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายขององค์พระ
๔. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ
๕. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระ จะแตกเป็นหางแซงแซว
๖. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้
๗. จะมีเม็ดผดขึ้นอยู่ระหว่างเส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ
๘. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน
๙. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระจะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว
๑๐. พระหัตถ์ที่วางบนเข่า จะไม่มีนิ้วมือยื่นเลยลงมาให้เห็น
ข้อมูลจาก : เบญจภาคีดอทคอม
No comments:
Post a Comment